กิจกรรม 17-21 มกราคม2554

ให้ผ้เรียนสืบค้นและวิคราะห์ข้อสอบจำนวน 9 ข้อ โดยทำใน Blog ของตนเอง โดยสร้างเพจใหม่ นำส่งท้ายชั่วโมงเรียน

 ตอบ 2
เพราะ  ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ

 ตอบ 4
เพราะ
การผุกร่อนของโลหะที่พบบ่อยในชีวิตประจำวันได้แก่ เหล็กเป็นสนิม (สนิมเหล็กเป็นออกไซด์ของเหล็ก Fe2O3.xH2O) ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการ ตัวอย่างเช่น การที่อะตอมของโลหะที่ถูกออกซิไดส์แล้วรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศเกิดเป็นออกไซด์ของโลหะนั้น เช่น สนิมเหล็ก(Fe2O3) สนิมทองแดง (CuO) หรือสนิมอลูมิเนียม (Al2O3) การเกิดสนิมมีกระบวนการที่ซับซ้อนมากและมีลักษณะเฉพาะตัวดังนี้
1. การผุกร่อนของโลหะ คือปฏิกิริยาเคมีที่เกิดระหว่างโลหะกับภาวะแวดล้อม
2. ภาวะแวดล้อมที่ทำให้ผุกร่อน คือ ความชื้น และออกซิเจน(H2O, O2) หรือ H2O กับอากาศ
3. ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดในการผุกร่อน เป็นปฏิกิริยารีดอกซ
3.1 โลหะที่เกิดปฏิกิริยา Oxidation (ให้อิเล็กตรอน)
3.2 ภาวะแวดล้อมเป็นฝ่ายรับอิเล็กตรอน เกิดปฏิกิริยา Reduction
4. สมการแสดงปฏิกิริยาการผุกร่อน (เกิดจากการทดลอง)
โลหะ + ภาวะแวดล้อม -----> Ion ของโลหะ + เบส
Fe (s) + H2O (l) + O2 (g) -----> Fe2+ (aq) + OH- (aq)
ตอบ 4
ตอบ 4
เพราะ 
การที่เราจะทำงานในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในภาคเกษตรกรรม หรือภาคอุตสาหกรรมที่จะต้องสัมผัสกับสภาวะอันตราย ซึ่งเราสามารถป้องกัน และทุเลาอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นได้ หากเราได้หันมาทำความเข้าใจถึงอันตรายนั้น ๆ เสียก่อน โดยการเรียนรู้ถึงอันตรายต่าง ๆ ด้วยการจัดแบ่งอันตรายออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ คือ
1. ด้านฟิสิกส์ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ ความดังของเสียงที่ดังเกินไปจากความดังเสียง, ความสั่นสะเทือน, อุณหภูมิ หรือรังสีของการสัมผัสเกินขนาด เหล่านี้เป็นต้น ที่จะสามารถทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเครียด และจะมีผลทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
2. ด้านเคมี ในปัจจุบันกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีการใช้สารเคมีกันมากขึ้น ดังนั้นการใช้งานทางด้านสารเคมี จึงมีความจำเป็นจะต้องมีระบบการระบายอากาศที่ดี หรือตัวผู้ปฎิบัติงานจะต้องใช้อุปกรณ์ในการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Device = PPD) เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับงานทางด้านสารเคมีแต่ละชนิด
3. ด้านชีววิทยา เป็นงานที่จะต้องเกี่ยวข้องกับอินทรีย์ อันเนื่องมาจาก สัตว์, รา, เชื้อโรค และฝุ่นจากพืช กับการได้รับสิ่งเหล่านี้อยู่เป็นประจำ จึงทำให้เกิดโรคและเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ขึ้นได้
4. ด้านเออร์โกโนมิกส์ เป็นเรื่องของการประยุกต์เอาศาสตร์ทางด้านสรีระของมนุษย์เข้ากับด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด (สำหรับข้อ 1-4 จะไม่ขอกล่าวถึงโดยละเอียด ... ในที่นี้)
5. ด้านความปลอดภัยในการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งโดยใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับ เครื่องจักรกลต่าง ๆ อย่างเช่น ถังบรรจุก๊าซ, ถังมีความดันไฟฟ้า, ห้องเย็น, โรงน้ำแข็ง และแม้กระทั่ง หม้อไอน้ำ หรือหม้อต้ม ฯ เหล่านี้เป็นต้น
 ตอบ 1
เพราะ   1. โลหะ (metal) เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ นำความร้อนที่ดี เหนียว มีจุดเดือดสูง ปกติเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง (ยกเว้น ปรอท) เช่น แคลเซียม อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นต้น
          2. อโลหะ (non-metal) เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติไม่นำไฟฟ้า มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เปราะบาง และมีการแปรผันทางด้านคุณสมบัติทางกายภาพมากกว่าโลหะ เช่น ออกซิเจน กำมะถัน ฟอสฟอรัส เป็นต้น
ตารางที่ 2 แสดงสมบัติบางประการของโลหะกับอโลหะ  

สมบัติ
โลหะ
อโลหะ
1. สถานะ
เป็นของแข็งในสภาวะปกติ  ยกเว้นปรอทซึ่งเป็นของเหลว  ไม่มีโลหะที่เป็นก๊าซในภาวะปกติ
มีอยู่ได้ทั้ง 3 สถานะ ธาตุที่เป็นก๊าซในภาวะปกติจะเป็นอโลหะทั้งสิ้น อโลหะที่เป็นของเหลว คือ โบรมีน ของแข็ง ได้แก่ คาร์บอน กำมะถัน ฟอสฟอรัส เป็นต้น
2. ความมันวาว
มีวาวโลหะ ขัดขึ้นเงาได้
ส่วนมากไม่มีวาวโลหะ ยกเว้น แกรไฟต์ (ผลึกคาร์บอน) เกล็ดไอโอดีน (ผลึกไอโอดีน)
3. การนำไฟฟ้าและน้ำความร้อน
นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี เช่น สายไฟฟ้ามักทำด้วยทองแดง
นำไฟฟ้าและนำความร้อนไม่ได้ยกเว้นแกรไฟต์  นำไฟฟ้าได้ดี
4. ความเหนียว
ส่วนมากเหนียว ดึงยืดเป็นเส้นลวด  หรือตีเป็นแผ่นบ่างๆ ได้
อโลหะที่เป็นของแข็ง  มีเปราะดึงยืดออกเป็นเส้นลวดหรือตีเป็นแผ่นบางๆ ไม่ได้
5. ความหนาแน่น  หรือความถ่วงจำเพาะ
ส่วนมากมีความหนาแน่นสูง
มีความหนาแน่นต่ำ
6. จุดเดือนและจุดหลอดเหลว
ส่วนมากสูง เช่น เหล็ก มีจุดหลอดเหลว 1,536 oC  จุดเดือด 3,000 o
ส่วนมากต่ำโดยเฉพาะพวกอโลหะที่เป็นก๊าซ
7. การเกิดเสียงเมื่อเคาะ
มีเสียงดังกังวาน
ไม่มีเสียงดังกังวาน
8. เกี่ยวกับอิเล็กตรอนและประจุไอออน
เป็นพวกชอบให้อิเล็กตรอน ทำให้เกิดเป็นไอออนบวก
เป็นพวกชอบรับอิเล็กตรอน ทำให้เกิดเป็นไอออนลบ
9. สารประกอบออกไซด์
โลหะออกไซด์เป็นเบส
อโลหะออกไซด์เป็นกรด

         
          3. กึ่งโลหะ (metalloid) เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะและอโลหะ เช่น ธาตุซิลิคอน และเจอเมเนียม มีสมบัติบางประการคล้ายโลหะ เช่น นำไฟฟ้าได้บ้างที่อุณหภูมิปกติ และนำไฟฟ้าได้มากขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น เป็นของแข็ง  เป็นมันวาวสีเงิน จุดเดือดสูง แต่เปราะแตกง่ายคล้ายอโลหะ
 ตอบ  2
เพราะ