วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม 31ม.ค - 4ก.พ.54


ตอบข้อ 2
เพราะ

อธิบาย : ปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ



อธิบายสารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ
1. ตัวทำละลาย (solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการทำให้สารต่างๆ ละลายได้ โดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น
2. ตัวละลาย (solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวทำละลายละลายให้กระจายออกไปทั่วในตัวทำละลายโดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน
สารละลายมีทั้ง 3 สถานะ คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส
สารละลายของแข็ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของแข็ง เช่น ทองเหลือง นาก โลหะบัดกรี สัมฤทธิ์ เป็นต้น
สารละลายของเหลว หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำเกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำอัดลม เป็นต้น
สารละลายแก๊ส หมายถึงสารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นแก๊ส เช่น อากาศ แก๊สหุงต้ม ลูกเหม็นในอากาศ ไอน้ำในอากาศ เป็นต้น
ตัวละลายแต่ละชนิดจะใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวทำละลายและตัวถูกละลาย ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนั้นจะต้องรวมเป็นเนื้อเดียวกันและไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน ตัวอย่างเช่น

- เกลือ น้ำตาลทราย สีผสมอาหาร จุนสี สารส้ม กรดเกลือ กรดกำมะถัน ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
- โฟม ยางพารา พลาสติก ใช้น้ำมันเบนซินเป็นตัวทำละลาย
- สีน้ำมัน โฟม พลาสติก แลคเกอร์ ใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย
- สีน้ำมันใช้น้ำมันสนเป็นตัวทำละลาย

การละลายของสารในตัวทำละลาย
เราสามารถทราบได้ว่าสารละลายแต่ละชนิดนั้นมีสารใดเป็นตัวทำละลายและมีสารใดเป็นตัวละลาย โดยมีวิธีการสังเกตตัวทำละลายและตัวละลายดังนี้
1. ใช้สถานะของสารละลายเป็นเกณฑ์ ถ้าสารละลายนั้นเกิดจากสารที่มีสถานะต่างกันละลายเป็นเนื้อเดียวกัน สารใดที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลาย สารนั้นจะเป็นตัวทำละลาย เช่น
- น้ำเกลือ ประกอบด้วยน้ำเป็นตัวทำละลายและเกลือเป็นตัวละลาย
- น้ำเชื่อม ประกอบด้วยน้ำเป็นตัวทำละลายและน้ำตาลทรายเป็นตัวละลาย
- น้ำด่างทับทิม ประกอบน้ำเป็นตัวทำละลายและด่างทับทิมเป็นตัวละลาย
- น้ำอัดลม ประกอบด้วยน้ำเป็นตัวทำละลายและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวละลาย



ตอบข้อ 2



ตอบข้อ 4
อธิบายฝนกรด (อังกฤษ: acid rain) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสภาพแวดล้อมมากมาย

ฝนกรดเป็นผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide: SO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (nitrogen oxide: NO) โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้มักจะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำ (water: H2O) และสารเคมีอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศเพื่อก่อให้เกิดกรดซัลฟิวริก (sulfuric acid: H2SO4) , กรดไนตริก (nitric acid: HNO3) และสารมลพิษอื่น ๆ ก๊าซเหล่านี้มักจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีจะส่งผลทำให้อากาศอบอ้าวอากาศร้อนชื้นทำให้เกิดมลพิษทางอากาศเมื่อไปโดนกับออกซิเจนอาจถูกกระแสลมพัดพาไปหลายร้อยกิโลเมตร และมักจะกลับสู่พื้นโลกโดยฝน หิมะ หมอก หรือแม้แต่ในรูปฝุ่นผงละออง

ความเสียหายอันเกิดมาจากฝนกรดได้แพร่ขยายไปทั่วอเมริกาเหนือ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝนกรดจะละลายปุ๋ยในดิน ทำให้พืชเติบโตช้า เมื่อไหลลงแหล่งน้ำ ก็จะทำให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ไม่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ หรือแม้แต่ในเมืองเอง ฝนกรดก็ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หรืออาจจะจับตัวรวมกับหมอกก่อให้เกิดหมอกควันพิษ (smog) ที่ทำอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ และอาจรุนแรงถึงชีวิตได้หากมีมากถึงระดับหนึ่ง





ตอบข้อ 1
อธิบาย
สังกะสีคืออะไร
ปกติทั่วไปร่างกายมนุษย์ต้องการสารอาหารหลัก 5 หมู่ คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติ โดยเกลือแร่หรือแร่ธาตุนั้นเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายรองจาก น้ำ ไขมัน และโปรตีน ซึ่งแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับองค์ประกอบที่ดีของชีวิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรกคือ แร่ธาตุปริมาณมาก (Macro Minerals) ใช้เรียกแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน เช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น โดยจะพบแคลเซียมในร่างกายมากที่สุด รองลงมาเป็นฟอสฟอรัส ส่วนแร่ธาตุประเภทที่สอง คือ แร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) โดยแร่ธาตุกลุ่มนี้ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ไม่สามารถขาดได้เลย เพราะมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย กล่าวคือ ถ้าขาดสารอาหารพวกนี้ไป ร่างกายก็จะผิดปกติไป ทั้งๆ ที่ปริมาณที่จำเป็นต่อสุขภาพต่อวันมีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นเอง

สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างว่า ซิงค์ (Zinc) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Zn ประมาณร้อยละ 90 ของสังกะสี ในร่างกายอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ อีกร้อยละ 10 อยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด โดยส่วนที่อยู่ในเม็ดเลือดนั้น ร้อยละ 80 อยู่ในเม็ดเลือดแดง และร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเลือด ส่วนใหญ่ของ สังกะสี ที่รับประทานเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ ซึ่งเป็นผลรวมของ สังกะสี ที่บริโภคเข้าไปแล้วไม่ถูกดูดซึมจากน้ำย่อยของลำไส้เล็ก นอกจากนี้ร่างกายยังขับถ่าย สังกะสี ออกทางปัสสาวะโดยจับกับ กรดอะมิโน ได้อีกด้วย ซึ่งในคนปกติจะขับถ่าย สังกะสี ออกประมาณวันละ 300 – 600 ไมโครกรัม

ประโยชน์ของสังกะสี
สังกะสี มีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและ วิตามิน อื่นๆ คือ เป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงาน แต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิก และโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจกล่าวได้ว่าเอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบ ทุกชนิดต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้ดี ดังนั้น สังกะสี จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายเรา โดยอาจสรุปขบวนการที่ สังกะสี มีส่วนร่วมในการทำงานในร่างกายมนุษย์ได้ดังต่อไปนี้

1. สังกะสี เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส (Alcohol Dehydrogenase) ซึ่งเอ็นไซม์นี้มีหน้าที่ในการกำจัดแอลกอฮอล์ ซึ่งถือเป็นสารพิษในตับ (Liver)

2. สังกะสี ร่วมทำงานกับ เอ็นไซม์ แลคเตตและมาเลตดีไฮโดรจีเนส (Latate and Malate Dehydrogenase) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ร่างกายใช้ในขบวนการสร้างกำลังงาน

3. สังกะสี มีส่วนร่วมทำงานกับเอ็นไซม์ อัลคาไลน์ ฟอสฟาเตส (Alkaline Phosphatase) ซึ่งจำเป็นในขบวนการสร้างกระดูกและฟัน

4. สังกะสี เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์ซูเปอร์อ๊อกไซด์ ดิสมิวเทส (Superoxide Dismutase; SOD) ซึ่งเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Potent Anti-oxidants) ที่มีอยู่ในร่างกาย

5. สังกะสี เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์ คาร์บอร์นิคแอนไฮเดรส (Carbonic Anhydrase) ซึ่งพบว่าเอ็นไซม์นี้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานอย่างสมดุลของระบบประสาท สมอง

6. สังกะสี จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์โปรตีนและสร้าง คอลลาเจน มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตของเด็ก

7. สังกะสี ช่วยให้เซลล์สามารถจับกับวิตามิน เอ (Vitamin A) ไว้ได้ดีขึ้น และช่วยให้เซลล์สามารถนำเอาวิตามินเอไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้นด้วย ซึ่งช่วยทำให้เซลล์ผิวพรรณที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ๆ มีสุขภาพดี และพบว่ายังเกี่ยวข้องกับการรักษาสมดุลของปริมาณไขมันในผิวหนัง และควบคุมปัญหาการเกิดสิวจากการอุดตันของไขมันได้ด้วย

8. สังกะสี มีส่วนสำคัญในขบวนการสร้างกรดนิวคลีอิค (Nucleic acid) ทั้งดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) ซึ่งพบว่าในระยะที่ร่างกายต้องการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ไม่ว่าหลังผ่าตัด, เป็นแผลต่างๆ ยิ่งจำเป็นต้องมีขบวนการนี้มากขึ้นเสมอ

9. สังกะสี ยังช่วยในการปรับปรุงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะควบคุมการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด ทีลิมโฟไซต์ (T-lymphocyte) ให้ทำงานป้องกันเชื้อโรคแปลกปลอมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

10. สังกะสี มีความสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และควบคุมการทำงานของอวัยวะรับสัมผัส (Taste Sensation) ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

11. สังกะสี จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการเจริญของระบบสืบพันธุ์ และช่วยให้ต่อมลูกหมากทำหน้าที่ได้ถูกต้อง ป้องกันการเป็นหมัน

ปริมาณความต้องการสังกะสี
จาก คุณสมบัติของ สังกะสี ข้างต้น แสดงให้เห็นว่าในกระบวนการทำงานเกือบทุกระบบในร่างกายล้วนแต่ต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบในการทำงานด้วยกันทั้งนั้น จึงนับได้ว่า สังกะสี เป็นแร่ธาตที่ร่างกายต้องการเป็นประจำไม่สามารถขาดได้เลย โดยปริมาณความต้องการ สังกะสี ของแต่ละคนจะแตกต่างกันตามเพศ วัย และภาวะของร่างกาย ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริการได้ทำการวิจัยและกำหนดความต้องการ สังกะสี (Zinc) ปกติของมนุษย์ไว้ตามตารางข้างล่างนี้

ปริมาณ สังกะสี ที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)

อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ 3 – 5 มิลลิกรัม/วัน

อายุ 1 –10 ปี ปริมาณที่แนะนำ 10 มิลลิกรัม/วัน

อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ 15 มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ 20 – 25 มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ 25 – 30 มิลลิกรัม/วัน

แหล่งของสังกะสี
สำหรับ ร่างกายมนุษย์แล้วไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ สังกะสี ได้ขึ้นเอง จำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารดังกล่าว ซึ่งแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่มีปริมาณ สังกะสี สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยนางรม เป็นแหล่ง สังกะสี ที่ดี เพราะดูดซึมง่ายกว่าพวกพืชผัก โดยมีการวิจัยพบว่าอาหารจำพวกเนื้อเมื่อถูกย่อยเป็น กรดอะมิโนจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึม สังกะสี ได้ดีขึ้น โดยธัญพืชประเภท ข้าว ข้าวโพด มี สังกะสี อยู่ปริมาณน้อย ส่วนผัก ผลไม้แทบไม่มีปริมาณ สังกะสี อยู่เลย ซึ่งปริมาณ สังกะสี ในอาหารที่บริโภคประจำวันมีดังนี้

เนื้อ สัตว์ อาหารทะเล 1.5 – 4 มิลลิกรัม/100 กรัม
หอยนางรม 75 มิลลิกรัม/100 กรัม
ตับ 4 – 7 มิลลิกรัม/100 กรัม
ไข่แดง 1.5 มิลลิกรัม/100 กรัม
น้ำ นมวัว 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม
น้ำนมแม่ 0.1 – 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม
ธัญพืช 0.4 – 1 มิลลิกรัม/100 กรัม
ถั่ว 0.6 – 3 มิลลิกรัม/100 กรัม

โดย ในการบริโภคอาหารประจำวัน เราควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้ปริมาณ สังกะสี เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน อย่างไรก็ตามในการดำเนินชีวิตประจำวันปกติของเราทุกวันนี้ ยังมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณ สังกะสี ไม่เพียงพอได้ตลอดเวลา ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่

1. การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาหารที่มีปริมาณ สังกะสี ต่ำ, อาหารที่มีแร่ธาตุทองแดง (Copper) มากเกินไป, พวก ไฟเบอร์, ไฟเตต (Phytates), แอลกอฮอล์ (Alcohol), ฟอสเฟต (Phosphate) เพราะสารเหล่านี้จะไปลดการดูดซึม สังกะสี ผ่านผนังลำไส้ของคนเราได้

2. อายุที่มากขึ้น (Aging) ประสิทธิภาพการดูดซึม สังกะสี ลดลง

3. หญิงในระยะตั้งครรภ์ (Pregnant) ต้องการ สังกะสี มากเป็นพิเศษ

4. การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุ สังกะสี ได้

5. ภาวะโรคต่างๆ ที่ต้องการแร่ธาตุ สังกะสี เป็นพิเศษ เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง (Chronic infections) พิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) ผิวหนังอักเสบ (Psoriasis) ตับแข็ง (Cirrhosis)

6. โรคพันธุกรรม ที่ทำให้การดูดซึม สังกะสี ไม่ดี พบในเด็กเล็ก เรียกว่า Acrodermatitis Enteropathica (โรคผิวหนังอักเสบ และผิดปกติทางจิตใจ)

อาการขาดสังกะสี
ซึ่งถ้าร่างกายมีอาการ ขาดแร่ธาตุ สังกะสี เป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้

1. การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน หรือหยุดชะงักเป็นหนุ่มเป็นสาว

2. ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปาก และอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดง ต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง

3. ระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง

4. ระบบประสาท อาจมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย และมีอาการตาบอดแสงได้

5. ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย

6. มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง

สรุป ประโยชน์ของสังกะสี
ในขณะที่ถ้าร่างกายได้รับปริมาณ สังกะสี ที่เหมาะสม เพียงพอต่อความต้องการตามแต่ละสถานะของแต่ละคนแล้ว นอกจากไม่ต้องเผชิญกับอาการขาดธาตุ สังกะสี ดังกล่าวแล้ว กลับเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเราอย่างมากมาย ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์จากแร่ธาตุ สังกะสี ได้ดังนี้

1. ช่วยเสริมสร่างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่จะมาแผ้วพานร่างกายคนเรา จากการศึกษาหลายชิ้นให้ผลว่า ถ้าร่างกายได้รับ สังกะสี ปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการแล้ว จะมีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราอยู่ในสภาพสมบูรณ์

2. ป้องกัน มะเร็ง พบว่าผู้ป่วย มะเร็งต่อมลูกหมาก จะมีปริมาณ สังกะสี ต่ำกว่าคนปกติ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สังกะสี สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์ มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้

3. ป้องกันไม่ให้ตาบอดในผู้สูงอายุ การสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุที่เรียกว่า macular degeneration นั้นพบว่า เกิดจากการขาดธาตุ สังกะสี

4. ป้องกันและรักษาโรคหวัด พบว่าเมื่อเริ่มเป็นหวัด ถ้ารีบรับประทานธาตุ สังกะสี ทันทีจะ ช่วยให้อาการหวัดรุนแรงน้อยลงและจำนวนวันที่ป่วยก็ลดลงด้วย

5. ช่วยคงสภาพการรับรู้รส กลิ่น และสายตา คนเราเมื่อมีอายุมากขึ้น การรับรู้รอาหารมักจะเปลี่ยนไป บางคนอาจไม่เจริญอาหารและบอกว่า “อาหารไม่อร่อย” นั้น อาจมาจากการรับรู้รสของอาหารเปลี่ยนไปเพราะขาดธาตุ สังกะสี ก็ได้

6. กระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น คนที่มีบาดแผลต่างๆ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร การให้ธาตุ สังกะสี จะทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้รับธาตุ สังกะสี

7. เพิ่มความรู้สึกทางเพศในผู้ชาย การผลิตสเปิร์มของผู้ชายต้องการธาตุ สังกะสี มาก จะเห็นได้ว่า ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่มี สังกะสี มาก การสร้างฮอร์โมนเพศชาย ก็ต้องการธาตุ สังกะสี เช่นกัน

8. ช่วยรักษาและป้องกันการเป็นหมันในผู้ชาย สังกะสี มีส่วนสำคัญในการสร้างสเปิร์มและฮอร์โมนเพศชาย การให้ธาตุ สังกะสี วันละ 50 มก. จะทำให้ปริมาณน้ำเชื้อเพิ่มมากขึ้นได้

9. ป้องกันต่อมลูกหมากโต คนสูงอายุมักประสบปัญหาต่อมลูกหมากโต แพทย์จึงให้ สังกะสี ในการรักษาซึ่งก็ได้ผลดี

10. รักษาสิว คนหนุ่มสาวมีปัญหาเรื่องสิว ฝ้า เวลาสิวอักเสบจะไม่น่าดู มีการให้ธาตุ สังกะสี แก่คนที่ขาดธาตุสังกะสีและเป็นสิว ปรากฏว่าได้ผลดี สิวจะหายไป

11. ป้องกันผมร่วง สังกะสี จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของร่างกายของเส้นผม บางรายผมหลุดร่วงไปและกิน สังกะสี ก็จะช่วยให้เส้นผมใหม่งอกขึ้นได้เร็วขึ้น แต่ในรายหัวล้านตามอายุนั้นใช้ไม่ได้ผลเพราะไม่มีรากผม

12. เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานมักเป็นแผลและติดเชื้อง่าย สังกะสี จะช่วยให้ แผลที่เป็นนั้นหายเร็วขึ้นและช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคด้วย

13. ลดอาการอักเสบและช่วยรักษาโรครูมาตอยด์อาไทรลิส พบว่าคนเป็นโรคนี้จะมีปริมาณ สังกะสี ในเลือดน้อยกว่าคนทั่วไป จากการทดลองให้ธาตุ สังกะสี ไปพบว่า อาการดีขึ้นมากในเรื่องข้อต่อต่างๆ ที่บวม, ข้อแข็งหรือยึดติด

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของธาตุ สังกะสี มีมากมายต่อร่างกายคนเรา แต่อย่างไรก็ตามในการบริโภค สังกะสี ควรกระทำในขนาดพอดี เหมาะสมแก่วัยและสภาวะ โดยถ้าร่างกายคนเราได้รับปริมาณ สังกะสี ที่มากเกินพอดี จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ ซึ่งโทษของการได้รับ สังกะสี มากเกินไปจะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้

1. ภูมิคุ้มกันร่างกายเสื่อม และ สังกะสี ยังขัดขวางไม่ให้ร่างกายใช้ธาตุทองแดงได้เต็มที่เป็นผลให้ระดับทองแดงใน เลือดต่ำ ทำให้เกิดอาการซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ

2. โดยถ้าร่างกายได้รับ สังกะสี เกินกว่า 2 กรัมขึ้นไป จะเกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน ทำให้ปวดท้อง และอาเจียนได้

3. ในกรณีที่บริโภคมากกว่าวันละ 100 มก. เป็นเวลานานจะทำให้ระดับไขมัน HDL (High-density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันชั้นดีลดลง

โดยสรุปแล้วถึงแม้ว่า สังกะสี จะเป็นแร่ธาตุกลุ่มที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับแร่ ธาตุอื่น แต่ความสำคัญต่อร่างกายมิได้มีเพียงเล็กน้อยแต่อย่างใด กลับเป็นแร่ธาตุที่สำคัญยิ่งต่อกระบวนการทำงานทุกๆ ระบบของร่างกาย โดยแหล่งอาหารธรรมชาติที่มีปริมาณ สังกะสี สูง คือ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายได้รับ สังกะสี ไม่เพียงพอก็จะก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยหรือโรคต่างๆ ได้มากมาย ในขณะเดียวกันถ้าร่างกายได้รับ สังกะสี เป็นปริมาณที่เกินพอดีก็จะก่อโทษให้กับร่างกายได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นควรเลือกเดินทางสายกลาง บริโภคอาหารที่ให้แร่ธาตุ สังกะสี ในปริมาณที่พอเพียงเหมาะสมต่อร่างกาย นอกจากจะไม่ต้องเผชิญกับโรคที่เกี่ยวกับการขาดธาตุสังกะสีแล้ว ยังมีประโยชน์ช่วยป้องกันโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย







ตอบข้อ 2
อธิบาย ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี













ตอบข้อ 4
อธิบายเลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1

เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ

เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกระเจิงของ สเปกตรัมของรังสีเอ็กซ์ (x-ray)ของธาตุ และตำแหน่งที่ถูกต้องบนตารางธาตุ ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งต่อมาได้ถูกอธิบายด้วยเลขอะตอม ซึ่งอธิบายถึงปริมาณประจุในนิวเคลียส หรือ จำนวนโปรตอนนั่นเอง ซึ่งจำนวนของโปรตอนนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ








ตอบข้อ 3
อธิบายสารประกอบ (Compound) เป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน สร้างพันธะเคมีต่อกันในอัตราส่วนที่คงที่ เกิดเป็นโมเลกุล เขียนแทนสูตรเคมี เช่น น้ำ (H2O) เกลือแกง (NaCl) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) น้ำส้มสายชู (CH3COOH) เป็นต้น จะพบว่าสารประกอบมีสูตรเดียว ถ้าสูตรเคมีเปลี่ยนไปจะไม่ใช่สารเดิม เช่น ธาตุคาร์บอน (C) ทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน (O2) เกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) ซึ่งมีสมบัติแตกต่างกันไป

สารประกอบสามารถแยกสลายให้องค์ประกอบย่อย เช่น เมื่อเผาด่างทับทิม (KMnO4) จะได้ก๊าซออกซิเจน ของแข็งสีเขียว (K2MnO2) และของแข็งสีดำ (MnO2) เป็นต้น

การเกิดสารประกอบ
สารประกอบเกิดจากการสร้างพันธะเคมีของอะตอมตางชนิดกัน เกิดเป็นโมเลกุลของสารประกอบ ดังนี้

สูตรเคมี
สูตรเคมี คือกลุ่มของสัญลักษณ์ของธาตุที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสาร สูตรเคมีที่แสดงชนิดของธาตุและจำนวนอะตอมที่เป็นองค์ประกอบใน 1 โมเลกุล เรียกว่า “สูตรโมเลกุล” ดังตัวอย่างสูตรโมเลกุลของสารประกอบต่อไปนี้

ประเภทสารประกอบ
สารประกอบ
สูตรเคมี
ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ

กรด
คาร์บอนิก
H2CO3
ธาตุไฮโดรเจน 2 อะตอม ธาตุคาร์บอน 1 อะตอม ธาตุออกซิเจน 3 อะตอม

ไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
HCl
ธาตุไฮโดรเจน 1 อะตอม ธาตุคลอรีน 1 อะตอม

แอซีติก (กรดน้ำส้ม)
CH3COOH
ธาตุคาร์บอน 2 อะตอม ธาตุไฮโดรเจน 4 อะตอม ธาตุออกซิเจน 2 อะตอม

เบส
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (โซดาไฟ)
NaOH
ธาตุโซเดียม 1 อะตอม ธาตุออกซิเจน 1 อะตอม ธาตุไฮโดรเจน 1 อะตอม

โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
KOH
ธาตุโพแทสเซียม 1 อะตอม ธาตุออกซิเจน 1 อะตอม

แคลเซียมไฮดรอกไซด์
Ca(OH)2
ธาตุแคลเซียม 1 อะตอมธาตุออกซิเจน 2อะตอม ธาตุไฮโดรเจน 2 อะตอม

เกลือ
โซเดียมคลอไรด์
NaCl
ธาตุโซเดียม 1 อะตอม ธาตุคลอรีน 1 อะตอม

โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (ด่างทับทิม)
KMnO4
ธาตุโพแทสเซียม 1 อะตอม ธาตุแมงกานีส 1อะตอมธาตุออกซิเจน 4 อะตอม

แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน)
CaCO3
ธาตุแคลเซียม 1 อะตอม ธาตุคาร์บอน 1 อะตอม ธาตุออกซิเจน 3 อะตอม

ก๊าซ
มีเทน
CH4
คาร์บอน1 อะตอม ธาตุไฮโดรเจน 4 อะตอม

บิวเทน
C4H10
คาร์บอน1 อะตอม ธาตุไฮโดรเจน 10 อะตอม

แอมโมเนีย
NH3
ไนโตรเจน1 อะตอม ธาตุไฮโดรเจน 3 อะตอม











ตอบข้อ 4
ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน

เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี

ธาตุที่เบาที่สุดคือ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ซึ่งเป็นสองธาตุแรกสุดที่เกิดขึ้นในกระบวนการบิ๊กแบง ธาตุอื่นๆนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นด้วยมนุษย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสังเคราะห์นิวเคลียส

จนถึงปี ค.ศ. 2004 มีธาตุที่ถูกค้นพบทั้งหมด 116 ธาตุ (ดู ตารางธาตุ) ในจำนวนนี้มี 91 ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่วน 25 ธาตุที่เหลือนั้นเป็นธาตุที่ถูกสร้างขึ้น โดยธาตุแรกที่ถูกสร้างขึ้นคือเทคนีเชียม ในปี ค.ศ. 1937 ธาตุที่ถูกสร้างขึ้นนี้ ทั้งหมดเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี ที่มีระยะครึ่งชีวิตที่สั้น ดังนั้นธาตุเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกนั้น ก็ได้สลายตัวไปหมดแล้ว

อะตอมของธาตุเดียวกันที่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากันนั้นจะเรียกว่าเป็น ไอโซโทปของธาตุนั้น

[แก้] สมบัติของธาตุในตารางธาตุอธิบาย











ตอบ 0.3g/m.n

อธิบายปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน

ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี

[แก้] ชนิดของปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมีนั้นสามารถจำแนกได้เป็นหลายชนิดและประเภท โดยหลักในการจำแนกนั้นขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่จะนำไปใช้ในการจัดกลุ่มจำแนก แต่ส่วนมากแล้วจะแบ่งได้เป็น 5 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่

ปฏิกิริยาการรวมตัว หรือการสังเคราะห์ (Combination reaction หรือ synthesis) คือการที่สารบริสุทธิ์หรือสารประกอบทางเคมี รวมสารเข้าด้วยกันและก่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ซับซ้อนกว่า
โครงสร้าง: A+Z → AZ
ตัวอย่าง: N2 + 3H2 → 2NH3
ปฏิกิริยาการสลายตัว หรือการวิเคราะห์ (Decomposition reaction หรือ analysis) คือการที่สารประกอบสลายตัวมาเป็นสารประกอบหรือสารบริสุทธิ์ที่เล็กกว่า
โครงสร้าง: AZ → A+Z
ตัวอย่าง: 2H2O → 2H2 + O2
ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงเดี่ยว (Single displacement reaction หรือ substitution) คือการที่สารบริสุทธิ์ถูกแทนที่ด้วยสารประกอบ
ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงคู่ (Double displacement reaction)
ปฏิกิริยาสะเทิน (Combustion)







ตอบ 5วัน
อธิบาย
ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน

เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี

ธาตุที่เบาที่สุดคือ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ซึ่งเป็นสองธาตุแรกสุดที่เกิดขึ้นในกระบวนการบิ๊กแบง ธาตุอื่นๆนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นด้วยมนุษย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสังเคราะห์นิวเคลียส

จนถึงปี ค.ศ. 2004 มีธาตุที่ถูกค้นพบทั้งหมด 116 ธาตุ (ดู ตารางธาตุ) ในจำนวนนี้มี 91 ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่วน 25 ธาตุที่เหลือนั้นเป็นธาตุที่ถูกสร้างขึ้น โดยธาตุแรกที่ถูกสร้างขึ้นคือเทคนีเชียม ในปี ค.ศ. 1937 ธาตุที่ถูกสร้างขึ้นนี้ ทั้งหมดเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี ที่มีระยะครึ่งชีวิตที่สั้น ดังนั้นธาตุเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกนั้น ก็ได้สลายตัวไปหมดแล้ว

อะตอมของธาตุเดียวกันที่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากันนั้นจะเรียกว่าเป็น ไอโซโทปของธาตุนั้น












ตอบ 50วินาที
อธิบาย
ไอโอดีน (อังกฤษ:Iodine) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 53 และสัญลักษณ์คือ I ไอโอดีน (เป็นคำในภาษากรีก Iodes, มีความหมายว่า "สีม่วง") เป็นธาตุที่ไม่ละลายน้ำ มีความจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต สมบัติทางเคมีของไอโอดีนมีความไวน้อยกว่าธาตุในกลุ่มฮาโลเจนด้วยกัน ไอโอดีนมีประโยชน์ในทางการแพทย์ การถ่ายภาพ และสีย้อมผ้า







วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม10-14 ม.ค 54





ตอบข้อ 1
เพราะ
ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีPosted: มิถุนายน 6, 2010 by krooman in Uncategorized
24ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา มีดังนี้ ( ให้นักเรียนคลิกเพื่อศึกษาความรู้ ตามปัจจัยต่างๆ ข้างล่าง) แล้วเลือกตอบคำถามข้างล่าง 1 ข้อเท่านั้น ถ้านักเรียนคนใดตอบมากกว่า 1 ข้อ จะให้คะแนนเฉพาะคำตอบแรกเท่านั้น กรุณาตอบในช่อง ให้ความเห็น นะครับ

•ธรรมชาติของสารตั้งต้น
•ความเข้มข้นของสารตั้งต้น
•พื้นที่ผิว
•อุณหภูมิ
•ตัวเร่งปฏิกิริยา
•ความดัน
คำถามที่ 1 มีดังนี้ ” สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ เมื่อเหล็กสัมผัสกับน้ำและความชื้น จะค่อย ๆ สึกกร่อน กลายเป็นเหล็กออกไซด์ หรือที่เรารู้จักกันว่า สนิมเหล็ก (Fe2O3.H2O ) ให้นักเรียนนำความรู้เรื่องปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี มาประยุกต์ใช้เพื่อทำให้เหล็กเกิดสนิมช้าที่สุด” ให้นักเรียนเขียนคำตอบในช่องให้ความเห็น พร้อมบอกข้อที่ตอบ แจ้งชื่อชั้นเลขที่เพื่อรับคะแนนโบนัสพิเศษครับ คนที่ตอบถูก 10 คนแรกจะได้คะแนนโบนัส

คำถามที่ 2 พิจารณาคลิปวีดีโอข้างล่าง แล้วให้นักเรียนให้เหตุผลอธิบายผลการทดลองว่า “เหตุใดลูกโป่งสีชมพูจึงมีขนาดใหญ่กว่าสีแดง โดยนำความรู้เรื่องปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยามาประกอบคำอธิบาย” ให้นักเรียนเขียนคำตอบในช่องให้ความเห็น พร้อมบอกข้อที่ตอบ แจ้งชื่อชั้นเลขที่เพื่อรับคะแนนโบนัสพิเศษครับ คนที่ตอบถูก 10 คนแรกจะได้คะแนนโบนัส




ตอบข้อ4
เพราะปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ


เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน






ตอบข้อ 3
พันธะไอออนิค (พันธะไอออน) (อังกฤษ: ionic bond) เกิดจากที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมสร้างพันธะกันโดยที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมให้อิเล็กตรอนกับอะตอมหรือกลุ่มของอะตอม ทำให้กลายเป็นประจุบวก ในขณะที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนนั้นกลายเป็นประจุลบ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีประจุตรงกันข้ามกันจะดึงดูดกัน ทำให้เกิดพันธะไอออน โดยทั่วไปพันธะชนิดนี้มักเกิดขึ้นระหว่างโลหะกับอโลหะ โดยอะตอมที่ให้อิเล็กตรอนมักเป็นโลหะ ทำให้โลหะนั้นมีประจุบวก และอะตอมที่รับอิเล็กตรอนมักเป็นอโลหะ จึงมีประจุลบ ไอออนที่พันธะไอออนมีความแข็งแรงมากกว่าพันธะไฮโดรเจน แต่แข็งแรงพอ ๆ กับพันธะโคเวเลนต์เพราะ




ตอบข้อ 1
เพราะไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี






ตอบข้อ 4
ธาตุ (Element) หมายถึง สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวมีองค์ประกอบเพียงอย่างเดียว มีสมบัติเฉพาะตัวและจุดเดือดจุดหลอมเหลว คงที่ เช่น O2 , S8 , CI2 , N2 , O3 , Fe , Zn , Cu , He , Ne , Ar , Au , Ag , Pt


ตารางแสดงสมบัติบางประการของธาตุ

ธาตุ
ลักษณะที่ T ปกติ
ความแข็ง-เหนียว
การนำไฟฟ้า
mp
bp

โซเดียม
ของแข็งสีเงินวาว
เหนียว
นำไฟฟ้า
98
892

ฟอสฟอรัส
ของแข็งสีแดงหรือขาว
เปราะ
ไม่นำไฟฟ้า
44
280

โบรอน
ของแข็งสีดำ
เปราะ
ไม่นำไฟฟ้า
2030
3900

ปรอท
ของเหลวสีเงินวาว
-
นำไฟฟ้า
- 38.87
356.58

ซิลิคอน
ของแข็งสีเงินวาว
เปราะ
นำไฟฟ้าได้เล็กน้อย
1410
2680


ตารางเปรียบเทียบสมบัติโดยทั่วไปของโลหะ - อโลหะ

สมบัติของธาตุ
โลหะ
อโลหะ

สถานะ
ของแข็ง
มีทั้งสามสถานะ

ความเป็นมันวาว
เป็นมันวาว
ไม่เป็นมันวาว

ความเหนียว - เปราะ
เหนียว
เปราะ

นำไฟฟ้า - ความร้อน
นำ
ไม่นำ

ช่วง mp. ถึง bp.
กว้าง
แคบ

จุดเดือด จุดหลอมเหลว
สูง
ต่ำ

เคาะ
กังวาน
ไม่กังวาน


ธาตุใดที่มีสมบัติส่วนใหญ่เป็นโลหะ จัดธาตุนั้นไว้เป็นธาตุโลหะ และธาตุใดมีสมบัติส่วนใหญ่เป็นอโลหะ จัดให้เป็นธาตุอโลหะ สำหรับธาตุที่ไม่สามารถจัดเป็นธาตุโลหะ หรือธาตุอโลหะได้ให้จัดธาตุนั้นไว้เป็นธาตุกึ่งโลหะ – กึ่งอโลหะ เช่น โบรอน ซิลิคอนและพลวง
ชนิดของธาตุ สามารถแบ่งธาตุออกได้ 3 ชนิด ได้แก่ โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ จากการศึกษาพบว่าโลหะและอโลหะมีสมบัติต่างกัน

โลหะ
1. ส่วนมากอยู่ในสถานะของแข็งยกเว้น ปรอท เป็นของเหลว ณ อุณหภูมิปกติ
2. ขัดเป็นมันวาว
3. ส่วนมากมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
4. นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี แต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นโลหะจะนำไฟฟ้าได้น้อยลง
5. ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นสูง
6. เหนียวดึงเป็นเส้นหรือตีแผ่เป็นแผ่นได้
7. เคาะเสียงดังกังวาน
8. มีความโน้มเอียงที่จะเสียอิเล็กตรอนเมื่อรวมตัวกับอโลหะ
9. ส่วนใหญ่ทำปฏิกิริยากับสารละลายกรดได้ก๊าซไฮโดรเจน
10. เมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนได้สารประกอบออกไซด์ที่ละลายน้ำแล้วมีสมบัติเป็นเบส

อโลหะ
1. มีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ณ อุณหภูมิปกติ
2. ขัดไม่เป็นมันวาว
3. ส่วนมากมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ
4. เป็นฉนวนไฟฟ้า ยกเว้นแกรไฟต์
5. มีความหนาแน่นต่ำ
6. เปราะดึงเป็นเส้นหรือตีแผ่เป็นแผ่นไม่ได้
7. เคาะไม่มีเสียงดังกังวาน
8. มีความโน้มเอียงที่จะรับอิเล็กตรอนเมื่อรวมตัวกับโลหะ
9. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายกรด
10. เมื่อรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนจะได้สรประกอบออกไซด์ที่ละลายน้ำแล้วมีสมบัติเป็นกรด

สำหรับธาตุที่เป็นกึ่งโลหะ จะมีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะและอโลหะ เช่น นำไฟฟ้าได้เล็กน้อยที่ภาวะปกติเมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนได้สารประกอบออกไซด์ที่มีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส เป็นต้น

หลักการเขียนสัญลักษณ์ของธาตุ

ใช้อักษรตัวแรกของชื่อธาตุในภาษาละติน หรือภาษาอังกฤษแทนสัญลักษณ์ของธาตุ โดยเขียนด้วยภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่
ถ้าอักษรตัวแรกซ้ำกัน ก็เพิ่มอักษรตัวถัดไปตัวใดตัวหนึ่งและเขียนควบด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น ตารางสัญลักษณ์ธาตุบางชนิด
ตัวอย่าง
ชื่อภาษาอังกฤษ Aluminium ชื่อภาษาไทย อะลูมิเนียม สัญลักษณ์ Al

สารประกอบ ( Compound )
สารประกอบ ( Compound ) หมายถึง สารบริสุทธิ์ที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป รวมตัวกันทางเคมีในอัตราส่วนโดยมวลคงที่ มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวคงที่และมีสมบัติต่างจากธาตุองค์ประกอบเดิมและไม่สามารถแยกกลับเป็นสารเดิมได้โดยง่าย เช่น CO2,H2 O , KMnO4 , Cu (NH 3)4 SO4 , NaCI เป็นต้น

สารประกอบบางชนิดที่ควรทราบ
ชื่อสารประกอบ
ชื่อสามัญ
สูตรเคมี

Carbonic acid
กรดน้ำอัดลม
H2CO3

Sulfuric acid
กรดกำมะถัน
H2SO4

Hydrochloric acid
กรดเกลือ
HCl

Hydrogen sulfide
ก๊าซไข่เน่า
H2S

Acetic acid
กรดน้ำส้ม
CH3COOH

Cupper ( 2 ) sulfate
จุลสีสะตุ
CuSO4

Calciumcarbonate
หินปูน
CaCO3

Caiciumcarbide
ถ่านแก๊ส
CaC2

Sodiumchloride
เกลือแกง
NaCl

Silicondioxide
ทราย
SiO2

Nitric acid
กรดดินปะสิว
HNO3

Sodiumhydroxide
โซดาไฟ
NaOH

Dinitrogenmonoxide
ก๊าซหัวเราะ
N2O

Sodiumcabonate dacahydate
โซดาซักผ้า
Na2CO3.10H2O

Magnesiumsulfateheptahydate
เกลือ

MgSO4.7H2O

Calciumhydroxide
ปูนขาว
Ca(OH)2

Fluoric acid
กรดกัดแก้ว
HF

Ethanol
เอทานอล (เอทิลแอลกอฮอล์)
C2H5OH

Methanol
เมทานอล (เมทิลแอลกอฮอล์)
CH3OH

Magnesiumhydroxide
ยาธาตุ
Mg(OH)2







ตอบข้อ3
เพราะ
โรคความดันโลหิตสูง เป็นอีกโรคหนึ่งที่เป็นกันมาก โดยเฉพาะคนที่มีภาวะโภชนาการเกินหรือเรียกว่าอ้วนนั่นแหละครับ

ความดันโลหิตของคนปกติมีค่า 120/130 มิลิเมตรปรอทแต่คนที่เป็นโรคนี้จะมีค่าความดันโลหิตสูงกว่า 160/95 มิลลิเมตรปรอทอยู่
ตลอดเวลา ซึ่งถ้าเป็นอยู่โดยไม่ได้รับการรักษา อาจเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดแดงในสมองแตกทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตหรืออาจถึงตาย
ได้ นอกจากนี้ทำให้หลอดเลือดแดงหนา และแข็งตัว จนตีบหรืออุดตันได้ง่าย และเกิดภาวะในสมองขาดเลือด เป็นอัมพาต เป็นโรคหัวใจ
ขาดเลือด หรือทำให้ตาบอด ไตเสื่อม และไตวายในที่สุด

วิธีป้องกันและรักษา ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องดังนี้
1. ควบคุมร่างกายไม่ให้อ้วน หรือถ้าอ้วนอยู่แล้วก็ต้องลด
2. กินอาหารที่มีรสเค็มให้น้อยลง งดของดองเค็มทุกชนิด เช่น ปลาเค็ม ปูเค็ม ไข่เค็ม เครื่องปรุง รสที่มีเกลือ เช่น น้ำปลา น้ำซอส
ต่าง ๆ ควรใช้ให้น้อยที่สุดหรือไม่ใช่เลยก็ยิ่งดี
3. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ
4. พักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจให้เพียงพอ
5. ปรับวิธีการดำเนินชีวิตให้มีความเครียดน้อยลง
6. งดการสูบบุหรี่หรือการดื่มเหล้า
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากการออกำลังกายเบา ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มจนถึงระดับที่พอดี จะช่วยให้ควบคุมโรคนี้ได้ดีขึ้น
ถ้ากินอาหารและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ จะช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตสูง และป้องกันการแทรกซ้อนได้









ตอบข้อ 1
เพราะ

ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีนำไปใช้อธิบายสมบัติบางประการของสารได้ เช่น ขั้วของพันธะโคเวเลนต์

1.ถ้าพันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมที่มีค่าค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีเท่ากัน เช่นพันธะในโมเลกุลของ H2 , O2 , N2 , F2 , Br2 , I2 , P4 อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจะอยู่ตรงกลางระหว่างอะตอมทั้งสองเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจกล่าวได้ว่าอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจะถูกนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองดึงดูดด้วบแรงเท่าๆกัน เราเรียกพันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ว่า พันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว
สรุป พันธะที่เกิดจากอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันเป็นพันธะไม่มีขัว

2.ถ้าพันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่างกัน อะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากกว่า จะดึงอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะเข้ามาใกล้ตัวมันเอง อะตอมนี้จะแสดงอำนาจไฟฟ้าเป็นลบ และอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยกว่าจะถูกดึงอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะไป อะตอมนี้จะแสดงอำนาจไฟฟ้าบวก เราเรียกพันธะโคเวเลนต์ชนิดนี้ว่า พันธะโคเวเลนต์มีขั้ว
การแสดงขั้วของพันธะโคเวเลนต์ ใช้สัญลักษณ์ (อ่านว่า เดลตาลบ และเดลตาบวกตามลำดับ) ตัวอย่างเช่น

และความแรงของขั้วของพันธะขึ้นกับผลต่างของค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของอะตอมคู่สร้างพันธะ โดยถ้าค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีแตกต่างกันมากกว่า สภาพขั้วจะแรงกว่า เช่น H – F มีสภาพขั้วแรงกว่า H – Cl

สรุป พันธะที่เกิดจากอะตอมต่างชนิดกันเป็นพันธะมีขั้ว

ขั้วของโมเลกุล

วิธีพิจารณาว่าโมเลกุลใดมีขั้วหรือไม่มีขั้วมีหลักดังนี้

1.โมเลกุลใดที่มีแต่พันธะที่ไม่มีขั้วทั้งสิ้น จัดเป็นโมเลกุลที่ไม่มีขั้ว เช่น H2 , O2 , N2 , F2 , Br2 , I2 , P4

2.โมเลกุลใดที่มีพันธะมีขั้ว โมเลกุลนั้นอาจมีขั้วหรือไม่มีขั้วก็ได้ ขึ้นกับการเขียนเวกเตอร์ แล้วดูการหักล้างกันของทิศทางของขั้วของพันธะรอบอะตอมกลาง ถ้าหักล้างกันหมดโมเลกุลนั้นจะไม่มีขั้ว แต่ถ้าหักล้างกันไม่หมดโมเลกุลนั้นจะมีขั้ว โดยทิศทางของขั้วลบของโมเลกุลชี้ไปทางทิศทางของผลลัพธ์ เช่น



แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์

การเปลี่ยนสถานะของสารต้องมีการให้ความร้อนแก่สาร เพื่อให้อนุภาคของสารมีพลังงานจลน์สูงพอที่จะหลุดออกจากกัน แสดงว่าสารแต่ละสถานะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ซึ่งเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ของแข็ง > ของเหลว > ก๊าซ

การเปลี่ยนสถานะของสารโคเวเลนต์ มีการทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเท่านั้น ไม่มีการทำลายพันธะเคมี ดังนั้นสารที่มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง แสดงว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูง

ประเภทของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ มีดังนี้

1.แรงลอนดอน ( london foece ) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงอ่อนๆ ซึ่งเกิดขึ้นในสารทั่วไป และจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามมวลโมเลกุลของสาร
2.แรงดึงดูดระหว่างขั้ว ( dipole – dipole force ) เป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากแรงกระทำระหว่างขั้วบวกกับขั้วลบของโมเลกุลที่มีขั้ว
สารโคเวเลนต์ที่มีขั้ว มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล 2 ชนิดรวมอยู่ด้วยกันคือ แรงลอนดอนกับแรงดึงดูดระหว่างขั้ว และเรียกแรง 2 แรงรวมกันว่า แรงแวนเดอร์วาลส์

3. พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond , H – bond ) คือ แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่เกิดจากไฮโดรเจนอะตอมสร้างพันธะโคเวเลนต์ กับอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงๆและมีขนาดเล็ก ได้แก่ F , O และ N แล้วเกิดพันธะโคเวเลนต์มีขั้วชนิดมีสภาพขั้วแรงมาก ทั้งนี้เนื่องจากพันธะที่เกิดขึ้นนี้อิเล็กตรอนคู่รวมพันธะจะถูกดึงเข้ามาใกล้อะตอมของธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง มากกว่าทางด้านอะตอมของไฮโดรเจนมาก และอะตอมของธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง ยังมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว จึงเกิดดึงดูดกันระหว่างอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับอะตอมของไฮโดรเจนชึ่งมีอำนาจไฟฟ้าบวกสูงของอีกโมเลกุลหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นพันธะไฮโดรเจน







ตอบข้อ 1
เพราะ

1. สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวยที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว มีสมบัติเหมือนกัน แบ่งเป็น
1.1 ธาตุ
ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยธาตุหรือสารชนิดเดียว ไม่สามารถแยกหรือสลายออกเป็นสารอื่นได้ เช่น เงิน ทอง คาร์บอน ออกซิเจน เป็นต้น ในปัจจุบันมีการค้นคว้าพบธาตุประมาณ 107 ธาตุ เป็นธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 92 ธาตุ ที่เหลือเป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลอง ธาตุจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1) โลหะ มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ ยกเว้นปรอทที่เป็นโลหะแต่อยู่ในสถานะของเหลว โลหะจะมีผิวเป็นมันวาว มีจุดเดือดสูง และนำไฟฟ้าได้ดี โลหะบางชนิดเป็นสารแม่เหล็ก ตัวอย่างของธาตุโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม เป็นต้น



2) อโลหะ เป็นได้ทั้ง3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าส เช่น กำมะถันเป็นของแข็งสีเหลือง ธาตุโบรมีนเป็นของเหลวสีแดง และคลอรีนเป็นก๊าสสีเขียวอ่อน อโลหะส่วนใหญ่มีสมบัติตรงข้ามกับโลหะ เช่น เปราะ ไม่นำไฟฟ้า มีจุดเดือดต่ำ


3) ธาตุกึ่งโลหะ เป็นธาตุที่มีสมบัติกึ่งโลหะและอโลหะ เช่น โบรอนเป็นของแข็งสีดำ เปราะ ไม่นำไฟฟ้า มีจุดเดือดสูงถึง 4,000 องศาเซลเซียล ธาตุซิลิคอน เป็นของแข็งสีมันวาว เปราะ นำไฟฟ้าได้เล็กน้อย มีจุดเดือด 3,265 องศาเซลเซียล










ตอบข้อ 4
เพราะ

ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน

เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี

ธาตุที่เบาที่สุดคือ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ซึ่งเป็นสองธาตุแรกสุดที่เกิดขึ้นในกระบวนการบิ๊กแบง ธาตุอื่นๆนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นด้วยมนุษย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสังเคราะห์นิวเคลียส

จนถึงปี ค.ศ. 2004 มีธาตุที่ถูกค้นพบทั้งหมด 116 ธาตุ (ดู ตารางธาตุ) ในจำนวนนี้มี 91 ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่วน 25 ธาตุที่เหลือนั้นเป็นธาตุที่ถูกสร้างขึ้น โดยธาตุแรกที่ถูกสร้างขึ้นคือเทคนีเชียม ในปี ค.ศ. 1937 ธาตุที่ถูกสร้างขึ้นนี้ ทั้งหมดเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี ที่มีระยะครึ่งชีวิตที่สั้น ดังนั้นธาตุเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกนั้น ก็ได้สลายตัวไปหมดแล้ว

อะตอมของธาตุเดียวกันที่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากันนั้นจะเรียกว่าเป็น ไอโซโทปของธาตุนั้น

[แก้] สมบัติของธาตุในตารางธาตุ












































วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สาระ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 4 รหัส ว 43282 ช่วงชั้นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ระดับชั้น ม. 6
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค
1. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายกระบวนการที่สารผ่านเซลล์ และการรักษาดุลยภาพของเซลล์
2. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบาย เกี่ยวกับกลไกการรักษาดุลยภาพของน้ำ อุณหภูมิ กรด-เบสและแร่ ธาตุต่างๆ ของ สิ่งมีชีวิต
3. นำความรู้เรื่องการรักษาดุลยภาพไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและสิ่งมีชีวิตอื่น
4. สำรวจ สังเกตลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตต่างๆในท้องถิ่น ลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของสิ่งมีชีวิตหลากหลาย และจำแนกเป็นกลุ่มได้
5. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปรายและนำเสนอประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ และผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
6. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และนำเสนอคุณค่าของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ที่มีผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
7. สังเกตสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมและสร้างสถานการณ์จำลองแสดงถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต
8. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
9. สืบค้นข้อมูล และอธิบายโครงสร้างอะตอม ชนิดและจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมจาก สัญลักษณ์นิวเคลียร์ ของธาตุ วิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ
10. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดกับสมบัติของธาตุ และการเกิดปฏิกิริยา
11. อธิบายการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ และทำนายแนวโน้มของสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
12. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายและอธิบายการเกิดพันธะเคมีในโมเลกุลหรือในโครงผลึกของสาร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสาร ในเรื่องจุดเดือด จุดหลอมเหลว และสถานะกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร
13. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติ สารประกอบและเลขอะตอมของธาตุ
1. เข้าศึกษาเว็บกลาง ม.6 ที่ http://m6term2debsp.blogspot.com/
2. ปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละคาบเวลาที่กำหนดไว้
3. ดำเนินกิจกรรมตามใบงานที่กำหนด
4. ส่งงานตามใบงานกำหนดให้เสร็จสมบูรณ์ตามเวลาที่กำหนด
5. บันทึก/Capture หน้างาน ส่งทางเมล์ทุกครั้งที่ทำงานแล้วเสร็จ
ม.6 ส่งที่ karnpitcha_j@yahoo.co.th
6. ไฟล์ที่ส่งงาน ให้บันทึกวันที่ทำงานตามด้วย ห้องและเลขที่ของนักเรียน เช่น ปฏิบัติกิจกรรมวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ห้อง 6/3 เลขที่ 28 เป็นดังนี้ 1-11-2553-6328
7. ไม่รับงานที่ช้ากว่ากำหนด ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ลำดับการส่งงานมีผลต่อคะแนนเก็บด้วย
8. ผู้ที่ขาดการส่งงานเกิน 3 ครั้งจะขอพบผู้ปกครองเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป