วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม10-14 ม.ค 54





ตอบข้อ 1
เพราะ
ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีPosted: มิถุนายน 6, 2010 by krooman in Uncategorized
24ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา มีดังนี้ ( ให้นักเรียนคลิกเพื่อศึกษาความรู้ ตามปัจจัยต่างๆ ข้างล่าง) แล้วเลือกตอบคำถามข้างล่าง 1 ข้อเท่านั้น ถ้านักเรียนคนใดตอบมากกว่า 1 ข้อ จะให้คะแนนเฉพาะคำตอบแรกเท่านั้น กรุณาตอบในช่อง ให้ความเห็น นะครับ

•ธรรมชาติของสารตั้งต้น
•ความเข้มข้นของสารตั้งต้น
•พื้นที่ผิว
•อุณหภูมิ
•ตัวเร่งปฏิกิริยา
•ความดัน
คำถามที่ 1 มีดังนี้ ” สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ เมื่อเหล็กสัมผัสกับน้ำและความชื้น จะค่อย ๆ สึกกร่อน กลายเป็นเหล็กออกไซด์ หรือที่เรารู้จักกันว่า สนิมเหล็ก (Fe2O3.H2O ) ให้นักเรียนนำความรู้เรื่องปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี มาประยุกต์ใช้เพื่อทำให้เหล็กเกิดสนิมช้าที่สุด” ให้นักเรียนเขียนคำตอบในช่องให้ความเห็น พร้อมบอกข้อที่ตอบ แจ้งชื่อชั้นเลขที่เพื่อรับคะแนนโบนัสพิเศษครับ คนที่ตอบถูก 10 คนแรกจะได้คะแนนโบนัส

คำถามที่ 2 พิจารณาคลิปวีดีโอข้างล่าง แล้วให้นักเรียนให้เหตุผลอธิบายผลการทดลองว่า “เหตุใดลูกโป่งสีชมพูจึงมีขนาดใหญ่กว่าสีแดง โดยนำความรู้เรื่องปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยามาประกอบคำอธิบาย” ให้นักเรียนเขียนคำตอบในช่องให้ความเห็น พร้อมบอกข้อที่ตอบ แจ้งชื่อชั้นเลขที่เพื่อรับคะแนนโบนัสพิเศษครับ คนที่ตอบถูก 10 คนแรกจะได้คะแนนโบนัส




ตอบข้อ4
เพราะปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ


เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน






ตอบข้อ 3
พันธะไอออนิค (พันธะไอออน) (อังกฤษ: ionic bond) เกิดจากที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมสร้างพันธะกันโดยที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมให้อิเล็กตรอนกับอะตอมหรือกลุ่มของอะตอม ทำให้กลายเป็นประจุบวก ในขณะที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนนั้นกลายเป็นประจุลบ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีประจุตรงกันข้ามกันจะดึงดูดกัน ทำให้เกิดพันธะไอออน โดยทั่วไปพันธะชนิดนี้มักเกิดขึ้นระหว่างโลหะกับอโลหะ โดยอะตอมที่ให้อิเล็กตรอนมักเป็นโลหะ ทำให้โลหะนั้นมีประจุบวก และอะตอมที่รับอิเล็กตรอนมักเป็นอโลหะ จึงมีประจุลบ ไอออนที่พันธะไอออนมีความแข็งแรงมากกว่าพันธะไฮโดรเจน แต่แข็งแรงพอ ๆ กับพันธะโคเวเลนต์เพราะ




ตอบข้อ 1
เพราะไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี






ตอบข้อ 4
ธาตุ (Element) หมายถึง สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวมีองค์ประกอบเพียงอย่างเดียว มีสมบัติเฉพาะตัวและจุดเดือดจุดหลอมเหลว คงที่ เช่น O2 , S8 , CI2 , N2 , O3 , Fe , Zn , Cu , He , Ne , Ar , Au , Ag , Pt


ตารางแสดงสมบัติบางประการของธาตุ

ธาตุ
ลักษณะที่ T ปกติ
ความแข็ง-เหนียว
การนำไฟฟ้า
mp
bp

โซเดียม
ของแข็งสีเงินวาว
เหนียว
นำไฟฟ้า
98
892

ฟอสฟอรัส
ของแข็งสีแดงหรือขาว
เปราะ
ไม่นำไฟฟ้า
44
280

โบรอน
ของแข็งสีดำ
เปราะ
ไม่นำไฟฟ้า
2030
3900

ปรอท
ของเหลวสีเงินวาว
-
นำไฟฟ้า
- 38.87
356.58

ซิลิคอน
ของแข็งสีเงินวาว
เปราะ
นำไฟฟ้าได้เล็กน้อย
1410
2680


ตารางเปรียบเทียบสมบัติโดยทั่วไปของโลหะ - อโลหะ

สมบัติของธาตุ
โลหะ
อโลหะ

สถานะ
ของแข็ง
มีทั้งสามสถานะ

ความเป็นมันวาว
เป็นมันวาว
ไม่เป็นมันวาว

ความเหนียว - เปราะ
เหนียว
เปราะ

นำไฟฟ้า - ความร้อน
นำ
ไม่นำ

ช่วง mp. ถึง bp.
กว้าง
แคบ

จุดเดือด จุดหลอมเหลว
สูง
ต่ำ

เคาะ
กังวาน
ไม่กังวาน


ธาตุใดที่มีสมบัติส่วนใหญ่เป็นโลหะ จัดธาตุนั้นไว้เป็นธาตุโลหะ และธาตุใดมีสมบัติส่วนใหญ่เป็นอโลหะ จัดให้เป็นธาตุอโลหะ สำหรับธาตุที่ไม่สามารถจัดเป็นธาตุโลหะ หรือธาตุอโลหะได้ให้จัดธาตุนั้นไว้เป็นธาตุกึ่งโลหะ – กึ่งอโลหะ เช่น โบรอน ซิลิคอนและพลวง
ชนิดของธาตุ สามารถแบ่งธาตุออกได้ 3 ชนิด ได้แก่ โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ จากการศึกษาพบว่าโลหะและอโลหะมีสมบัติต่างกัน

โลหะ
1. ส่วนมากอยู่ในสถานะของแข็งยกเว้น ปรอท เป็นของเหลว ณ อุณหภูมิปกติ
2. ขัดเป็นมันวาว
3. ส่วนมากมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
4. นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี แต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นโลหะจะนำไฟฟ้าได้น้อยลง
5. ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นสูง
6. เหนียวดึงเป็นเส้นหรือตีแผ่เป็นแผ่นได้
7. เคาะเสียงดังกังวาน
8. มีความโน้มเอียงที่จะเสียอิเล็กตรอนเมื่อรวมตัวกับอโลหะ
9. ส่วนใหญ่ทำปฏิกิริยากับสารละลายกรดได้ก๊าซไฮโดรเจน
10. เมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนได้สารประกอบออกไซด์ที่ละลายน้ำแล้วมีสมบัติเป็นเบส

อโลหะ
1. มีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ณ อุณหภูมิปกติ
2. ขัดไม่เป็นมันวาว
3. ส่วนมากมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ
4. เป็นฉนวนไฟฟ้า ยกเว้นแกรไฟต์
5. มีความหนาแน่นต่ำ
6. เปราะดึงเป็นเส้นหรือตีแผ่เป็นแผ่นไม่ได้
7. เคาะไม่มีเสียงดังกังวาน
8. มีความโน้มเอียงที่จะรับอิเล็กตรอนเมื่อรวมตัวกับโลหะ
9. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายกรด
10. เมื่อรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนจะได้สรประกอบออกไซด์ที่ละลายน้ำแล้วมีสมบัติเป็นกรด

สำหรับธาตุที่เป็นกึ่งโลหะ จะมีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะและอโลหะ เช่น นำไฟฟ้าได้เล็กน้อยที่ภาวะปกติเมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนได้สารประกอบออกไซด์ที่มีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส เป็นต้น

หลักการเขียนสัญลักษณ์ของธาตุ

ใช้อักษรตัวแรกของชื่อธาตุในภาษาละติน หรือภาษาอังกฤษแทนสัญลักษณ์ของธาตุ โดยเขียนด้วยภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่
ถ้าอักษรตัวแรกซ้ำกัน ก็เพิ่มอักษรตัวถัดไปตัวใดตัวหนึ่งและเขียนควบด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น ตารางสัญลักษณ์ธาตุบางชนิด
ตัวอย่าง
ชื่อภาษาอังกฤษ Aluminium ชื่อภาษาไทย อะลูมิเนียม สัญลักษณ์ Al

สารประกอบ ( Compound )
สารประกอบ ( Compound ) หมายถึง สารบริสุทธิ์ที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป รวมตัวกันทางเคมีในอัตราส่วนโดยมวลคงที่ มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวคงที่และมีสมบัติต่างจากธาตุองค์ประกอบเดิมและไม่สามารถแยกกลับเป็นสารเดิมได้โดยง่าย เช่น CO2,H2 O , KMnO4 , Cu (NH 3)4 SO4 , NaCI เป็นต้น

สารประกอบบางชนิดที่ควรทราบ
ชื่อสารประกอบ
ชื่อสามัญ
สูตรเคมี

Carbonic acid
กรดน้ำอัดลม
H2CO3

Sulfuric acid
กรดกำมะถัน
H2SO4

Hydrochloric acid
กรดเกลือ
HCl

Hydrogen sulfide
ก๊าซไข่เน่า
H2S

Acetic acid
กรดน้ำส้ม
CH3COOH

Cupper ( 2 ) sulfate
จุลสีสะตุ
CuSO4

Calciumcarbonate
หินปูน
CaCO3

Caiciumcarbide
ถ่านแก๊ส
CaC2

Sodiumchloride
เกลือแกง
NaCl

Silicondioxide
ทราย
SiO2

Nitric acid
กรดดินปะสิว
HNO3

Sodiumhydroxide
โซดาไฟ
NaOH

Dinitrogenmonoxide
ก๊าซหัวเราะ
N2O

Sodiumcabonate dacahydate
โซดาซักผ้า
Na2CO3.10H2O

Magnesiumsulfateheptahydate
เกลือ

MgSO4.7H2O

Calciumhydroxide
ปูนขาว
Ca(OH)2

Fluoric acid
กรดกัดแก้ว
HF

Ethanol
เอทานอล (เอทิลแอลกอฮอล์)
C2H5OH

Methanol
เมทานอล (เมทิลแอลกอฮอล์)
CH3OH

Magnesiumhydroxide
ยาธาตุ
Mg(OH)2







ตอบข้อ3
เพราะ
โรคความดันโลหิตสูง เป็นอีกโรคหนึ่งที่เป็นกันมาก โดยเฉพาะคนที่มีภาวะโภชนาการเกินหรือเรียกว่าอ้วนนั่นแหละครับ

ความดันโลหิตของคนปกติมีค่า 120/130 มิลิเมตรปรอทแต่คนที่เป็นโรคนี้จะมีค่าความดันโลหิตสูงกว่า 160/95 มิลลิเมตรปรอทอยู่
ตลอดเวลา ซึ่งถ้าเป็นอยู่โดยไม่ได้รับการรักษา อาจเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดแดงในสมองแตกทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตหรืออาจถึงตาย
ได้ นอกจากนี้ทำให้หลอดเลือดแดงหนา และแข็งตัว จนตีบหรืออุดตันได้ง่าย และเกิดภาวะในสมองขาดเลือด เป็นอัมพาต เป็นโรคหัวใจ
ขาดเลือด หรือทำให้ตาบอด ไตเสื่อม และไตวายในที่สุด

วิธีป้องกันและรักษา ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องดังนี้
1. ควบคุมร่างกายไม่ให้อ้วน หรือถ้าอ้วนอยู่แล้วก็ต้องลด
2. กินอาหารที่มีรสเค็มให้น้อยลง งดของดองเค็มทุกชนิด เช่น ปลาเค็ม ปูเค็ม ไข่เค็ม เครื่องปรุง รสที่มีเกลือ เช่น น้ำปลา น้ำซอส
ต่าง ๆ ควรใช้ให้น้อยที่สุดหรือไม่ใช่เลยก็ยิ่งดี
3. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ
4. พักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจให้เพียงพอ
5. ปรับวิธีการดำเนินชีวิตให้มีความเครียดน้อยลง
6. งดการสูบบุหรี่หรือการดื่มเหล้า
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากการออกำลังกายเบา ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มจนถึงระดับที่พอดี จะช่วยให้ควบคุมโรคนี้ได้ดีขึ้น
ถ้ากินอาหารและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ จะช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตสูง และป้องกันการแทรกซ้อนได้









ตอบข้อ 1
เพราะ

ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีนำไปใช้อธิบายสมบัติบางประการของสารได้ เช่น ขั้วของพันธะโคเวเลนต์

1.ถ้าพันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมที่มีค่าค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีเท่ากัน เช่นพันธะในโมเลกุลของ H2 , O2 , N2 , F2 , Br2 , I2 , P4 อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจะอยู่ตรงกลางระหว่างอะตอมทั้งสองเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจกล่าวได้ว่าอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจะถูกนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองดึงดูดด้วบแรงเท่าๆกัน เราเรียกพันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ว่า พันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว
สรุป พันธะที่เกิดจากอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันเป็นพันธะไม่มีขัว

2.ถ้าพันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่างกัน อะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากกว่า จะดึงอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะเข้ามาใกล้ตัวมันเอง อะตอมนี้จะแสดงอำนาจไฟฟ้าเป็นลบ และอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยกว่าจะถูกดึงอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะไป อะตอมนี้จะแสดงอำนาจไฟฟ้าบวก เราเรียกพันธะโคเวเลนต์ชนิดนี้ว่า พันธะโคเวเลนต์มีขั้ว
การแสดงขั้วของพันธะโคเวเลนต์ ใช้สัญลักษณ์ (อ่านว่า เดลตาลบ และเดลตาบวกตามลำดับ) ตัวอย่างเช่น

และความแรงของขั้วของพันธะขึ้นกับผลต่างของค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของอะตอมคู่สร้างพันธะ โดยถ้าค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีแตกต่างกันมากกว่า สภาพขั้วจะแรงกว่า เช่น H – F มีสภาพขั้วแรงกว่า H – Cl

สรุป พันธะที่เกิดจากอะตอมต่างชนิดกันเป็นพันธะมีขั้ว

ขั้วของโมเลกุล

วิธีพิจารณาว่าโมเลกุลใดมีขั้วหรือไม่มีขั้วมีหลักดังนี้

1.โมเลกุลใดที่มีแต่พันธะที่ไม่มีขั้วทั้งสิ้น จัดเป็นโมเลกุลที่ไม่มีขั้ว เช่น H2 , O2 , N2 , F2 , Br2 , I2 , P4

2.โมเลกุลใดที่มีพันธะมีขั้ว โมเลกุลนั้นอาจมีขั้วหรือไม่มีขั้วก็ได้ ขึ้นกับการเขียนเวกเตอร์ แล้วดูการหักล้างกันของทิศทางของขั้วของพันธะรอบอะตอมกลาง ถ้าหักล้างกันหมดโมเลกุลนั้นจะไม่มีขั้ว แต่ถ้าหักล้างกันไม่หมดโมเลกุลนั้นจะมีขั้ว โดยทิศทางของขั้วลบของโมเลกุลชี้ไปทางทิศทางของผลลัพธ์ เช่น



แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์

การเปลี่ยนสถานะของสารต้องมีการให้ความร้อนแก่สาร เพื่อให้อนุภาคของสารมีพลังงานจลน์สูงพอที่จะหลุดออกจากกัน แสดงว่าสารแต่ละสถานะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ซึ่งเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ของแข็ง > ของเหลว > ก๊าซ

การเปลี่ยนสถานะของสารโคเวเลนต์ มีการทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเท่านั้น ไม่มีการทำลายพันธะเคมี ดังนั้นสารที่มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง แสดงว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูง

ประเภทของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ มีดังนี้

1.แรงลอนดอน ( london foece ) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงอ่อนๆ ซึ่งเกิดขึ้นในสารทั่วไป และจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามมวลโมเลกุลของสาร
2.แรงดึงดูดระหว่างขั้ว ( dipole – dipole force ) เป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากแรงกระทำระหว่างขั้วบวกกับขั้วลบของโมเลกุลที่มีขั้ว
สารโคเวเลนต์ที่มีขั้ว มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล 2 ชนิดรวมอยู่ด้วยกันคือ แรงลอนดอนกับแรงดึงดูดระหว่างขั้ว และเรียกแรง 2 แรงรวมกันว่า แรงแวนเดอร์วาลส์

3. พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond , H – bond ) คือ แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่เกิดจากไฮโดรเจนอะตอมสร้างพันธะโคเวเลนต์ กับอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงๆและมีขนาดเล็ก ได้แก่ F , O และ N แล้วเกิดพันธะโคเวเลนต์มีขั้วชนิดมีสภาพขั้วแรงมาก ทั้งนี้เนื่องจากพันธะที่เกิดขึ้นนี้อิเล็กตรอนคู่รวมพันธะจะถูกดึงเข้ามาใกล้อะตอมของธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง มากกว่าทางด้านอะตอมของไฮโดรเจนมาก และอะตอมของธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง ยังมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว จึงเกิดดึงดูดกันระหว่างอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับอะตอมของไฮโดรเจนชึ่งมีอำนาจไฟฟ้าบวกสูงของอีกโมเลกุลหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นพันธะไฮโดรเจน







ตอบข้อ 1
เพราะ

1. สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวยที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว มีสมบัติเหมือนกัน แบ่งเป็น
1.1 ธาตุ
ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยธาตุหรือสารชนิดเดียว ไม่สามารถแยกหรือสลายออกเป็นสารอื่นได้ เช่น เงิน ทอง คาร์บอน ออกซิเจน เป็นต้น ในปัจจุบันมีการค้นคว้าพบธาตุประมาณ 107 ธาตุ เป็นธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 92 ธาตุ ที่เหลือเป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลอง ธาตุจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1) โลหะ มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ ยกเว้นปรอทที่เป็นโลหะแต่อยู่ในสถานะของเหลว โลหะจะมีผิวเป็นมันวาว มีจุดเดือดสูง และนำไฟฟ้าได้ดี โลหะบางชนิดเป็นสารแม่เหล็ก ตัวอย่างของธาตุโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม เป็นต้น



2) อโลหะ เป็นได้ทั้ง3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าส เช่น กำมะถันเป็นของแข็งสีเหลือง ธาตุโบรมีนเป็นของเหลวสีแดง และคลอรีนเป็นก๊าสสีเขียวอ่อน อโลหะส่วนใหญ่มีสมบัติตรงข้ามกับโลหะ เช่น เปราะ ไม่นำไฟฟ้า มีจุดเดือดต่ำ


3) ธาตุกึ่งโลหะ เป็นธาตุที่มีสมบัติกึ่งโลหะและอโลหะ เช่น โบรอนเป็นของแข็งสีดำ เปราะ ไม่นำไฟฟ้า มีจุดเดือดสูงถึง 4,000 องศาเซลเซียล ธาตุซิลิคอน เป็นของแข็งสีมันวาว เปราะ นำไฟฟ้าได้เล็กน้อย มีจุดเดือด 3,265 องศาเซลเซียล










ตอบข้อ 4
เพราะ

ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน

เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี

ธาตุที่เบาที่สุดคือ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ซึ่งเป็นสองธาตุแรกสุดที่เกิดขึ้นในกระบวนการบิ๊กแบง ธาตุอื่นๆนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นด้วยมนุษย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสังเคราะห์นิวเคลียส

จนถึงปี ค.ศ. 2004 มีธาตุที่ถูกค้นพบทั้งหมด 116 ธาตุ (ดู ตารางธาตุ) ในจำนวนนี้มี 91 ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่วน 25 ธาตุที่เหลือนั้นเป็นธาตุที่ถูกสร้างขึ้น โดยธาตุแรกที่ถูกสร้างขึ้นคือเทคนีเชียม ในปี ค.ศ. 1937 ธาตุที่ถูกสร้างขึ้นนี้ ทั้งหมดเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี ที่มีระยะครึ่งชีวิตที่สั้น ดังนั้นธาตุเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกนั้น ก็ได้สลายตัวไปหมดแล้ว

อะตอมของธาตุเดียวกันที่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากันนั้นจะเรียกว่าเป็น ไอโซโทปของธาตุนั้น

[แก้] สมบัติของธาตุในตารางธาตุ












































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น